ทดสอบ Card ARECA 1886-4N8I บนเครื่อง 1U PowerRACK RSP1104-Z690D4U

ทดสอบ Card ARECA 1886-4N8I บนเครื่อง 1U PowerRACK RSP1104-Z690D4U

ทดสอบ Card ARECA 1886-4N8I บนเครื่อง 1U PowerRACK RSP1104-Z690D4U

      หัวข้อในวันนี้เป็นการนำเครื่อง Server 1u PowerRACK RSP1104-Z690D4U มาติดตั้ง Card ARECA รุ่น 1886-4N8I และมาทดสอบขีดความสามารถให้ได้รับชมข้อมูลกันครับ โดยข้อมูลของเครื่อง Server 1u RSP1104-Z690D4U สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pcgallery.co.th/product/rsp1104-z690d4u/

อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่อง 1u PowerRACK RSP1104-Z690D4U

  • Risercard ขนาด 1u 
  • Card ARC-1886-4N8I  รายละเอียดของ Card ARC-1886-4N8I สามารถเข้าดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.areca.com.tw/products/nvme-1886.html
  • Cable SFF-8654 to SFF-8643

ความสามารถของหลักๆที่ทาง Pcgallery ได้หยิบ Card ARC-1886-4N8I มาทดสอบ

  • เป็น Card ที่มี Cache ขนาด 8GB on-board DDR4-2666 SDRAM เพื่อเพิ่มความเร็วสำหรับการใช้งานใน Mode Cache IO
  • รองรับการทำ RAID ที่หลากหลายหลังจากที่ติดตั้งลงเครื่อง Server 1u PowerRACK RSP1104-Z690D4U เช่น RAID levels 0, 1, 0+1, 3, 5, 6,รวมถึงการทำสร้างแบบ Single Disk และ JBOD
  • Card เป็นแบบ PCIe 4.0 รองรับการติดตั้ง M.2 NVMe 4.0 ได้ถึง 4ตัวและยังสามารถทำ RAID ได้อีกด้วย
  • รองรับการสั่งการแบบ Remote ผ่าน Port RJ45 ทางด้านหลังของตัว Card 
การทดสอบ RAID SATA ผ่าน Card ARC-1886-4N8I
  • ทดสอบโดยติดตั้ง SSD ขนาด 2.5″ จำนวนทั้งหมด 4ตัว บน Drivebay แบบ Hot-swap ทางด้านหน้าของเครื่อง Server 1u PowerRACK RSP1104-Z690D4U เพื่อทดสอบ RAID ผ่าน Card ARC-1886-4N8I
  • ทดสอบการ Config RAID Level 0,1,3,5,6,0+1 โดยผ่าน Card ARC-1886-4N8I
  • ทดสอบ Performance โดยใช้ Software CrystalDiskMark ทดสอบรันที่ 8GB เนื่องจากถ้าทดสอบที่ขนาด 1GB จะเป็นการทดสอบโดยใช้ Cache ของตัว RAID บน Card แทน
การทดสอบการตั้งค่า Cached IO เทียบกับ Direct IO

อธิบายภาพด้านบน เป็นการทดสอบการตั้งค่าเป็น2หัวข้อโดยภาพที่1 เป็นการตั้งค่าแบบ Cached IO และทดสอบ Performance โดยทดสอบที่ขนาด 1GB จะเห็นได้ว่า Speed ที่วิ่งนั้นจะเป็น Speed ของ Cache ของตัว RAID ARC-1886-4N8I และภาพที่2 นั้นเป็นการทดสอบโดยตั้งค่าเป็นแบบ Direct IO และทดสอบ Performance ที่ขนาด 1GB เท่ากัน จะเห็นได้ว่า Speed นั้นต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็น Speed จริงๆของ RAID นั่นเอง ซึ่งหมายความว่าถ้า Cache บน RAID Card ARC-1886-4N8I หมด Speed ก็จะดรอปลง

RAID0
RAID1
RAID3
RAID5
RAID6
RAID0+1
การทดสอบแบบ Single Disk Pass Through Disk

เมื่อเลือก Disk ที่ต้องการและตั้งค่า Disk แบบ Pass Through Disk แล้วจะเห็น Drive ขึ้นมาบนหน้าของ Disk Management

การทดสอบตั้งค่า JBOD​

การตั้งค่า JBOD สามารถตั้งค่าได้2แบบคือ Cached IO หรือแบบ Direct IO โดยเมื่อเปลี่ยนหัวข้อให้เป็น JBOD แล้วจะพบ Drive ที่ติดตั้งลงบนเครื่องทั้งหมดแสดงอยู่ในหน้าของ Disk Management

  • รองรับการติดตั้ง M.2 NVMe ได้ถึง4ตัว
  • รองรับการทำ RAID Level 0,1,3,5,6,0+1 เช่นเดียวกันกับ SATA
  • รองรับการทำ RAID ร่วมกันกับ SATA ได้ 
ทดสอบ RAID0 NVMe & SATA

เป็นการสาธิตการตั้งค่าRAID0 โดยใช้งาน M.2 NVMe ร่วมกันกับ SATA 

ทดสอบ Remote ผ่าน Lan RJ45 Port

รองรับการเข้าใช้งาน Remote โดยผ่าน Lan RJ45 Port ทางด้านหลังของ Card ARC-1886-4N8I เพื่่อเข้าใช้งานดูสถานะต่างๆหรือ Config RAID ได้ด้วยเช่นเดียวกัน เหมาะสำหรับลูกค้าที่นำไปติดตั้งลงบนเครื่อง Server และไม่สะดวกเดินทางไปยังเครื่อง Server หรือสามารถ Remote เข้ามา Update FW ได้อีกด้วย

ข้อดีและฟังก์ชั่นต่างๆบน Card ARC-1886-4N8I ที่ไม่ได้นำมาทดสอบ

  • รองรับการทำ Hot Speare การทำ RAID ได้
  • มีฟังก์ชั่น Clone ไว้สำหรับการใช้งาน
  • รองรับการแจ้งเตือนผ่าน Mail สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้งาน
  • และฟังก์ชั่นอื่นๆอีกมากมาย
Randomly Picked

Related Post

Test Performance X12SAE-I7-10700K

     สำหรับวันนี้ทาง PC Gallery ได้ทำการทดสอบ Performance CPU ตัวหนึ่งของค่ายฟ้าอย่าง Intel ซึ่งได้ออก Processor 10th Generation เป็นรุ่น Core I7-10700k ซึ่งได้ทำการทดสอบติดตั้งไว้บน Mainboard ตัวใหม่ของทางค่าย

Test Temp CPU Xeon W-1270

CPU XEON W-1270 ทำการติดตั้ง Sink-Active 2u รุ่น DYNATRON K666R1 เพื่อทดสอบกับ CPU Xeon W-1270 (LGA1200) ภาพทางด้านบนเป็นการทดสอบโดยใช้ Software BurnInTest ทดสอบ Burn CPU

Intel Chipset 600 Series

Intel 600 Desktop Chipset Series แต่ละรุ่นแตกต่างกันอย่างไร?

สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับ PC Gallery ครับ วันนี้เราจะมาดูกันว่า Desktop Chipset ของ Intel 600 Series ในแต่ละรุ่นนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Intel 600 Series Desktop Chipsets แบบคร่าวๆ